แนวคิดการเรียนแบบยืดหยุ่น (Flexible Learning Approach)
เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนและสามารถบริหารตนเองได้ โดยสามารถตัดสินใจว่าจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร เรียนเมื่อไหร่ และเรียนที่ไหนก็ได้ ตามศักยภาพความสนใจและความถนัดของตนเอง โดยเน้นการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ รู้จักวางแผนการใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์และตรงกับความต้องการมากที่สุด
คุณลักษณะ 3 ประการที่ใช้เป็นแนวทางการออกแบบกิจกรรมการเรียนแบบยืดหยุ่น
1. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมต้องมีหลากหลาย เพื่อเอื้อต่อวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา การนำวิธีที่ยืดหยุ่น (Flexible approach) มาใช้ในการเรียนและการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ได้หลายวิธี เช่น การเรียนแบบเปิด (Open Learning) การเรียนทางไกล(Distance Learning) การเรียนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Mediated Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน…
1) สามารถเรียนรู้ได้มากและรวดเร็วและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย
2) สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ตามศักยภาพและความสนใจของตนเอง
2. ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเนื้อหาและกิจกรรมต้องตอบสนองความสนใจของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถเรียนได้เต็มศักยภาพ โดยเน้นการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดสภาพการเรียนรู้ควรจัดในลักษณะดังต่อไปนี้
1) ให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเวลาเรียนและสถานที่ได้ตามความต้องการ
2) การจัดหน่วยการเรียน (Modules) หรือโปรแกรมการเรียนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามความสนใจ และสามารถเลือกที่จะเรียนกับผู้สอนและเพื่อนคนอื่นๆ ได้หลากหลาย
3) การประเมินผลจะต้องสอดคล้องกับการทำกิจกรรมการเรียน อาจจัดได้หลากหลายให้เป็นทางเลือกในการเรียนการสอนได้แก่การเรียนเป็นคู่ หรือการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือเรียนโดยการปรึกษากับผู้สอน
4) เน้นให้ผู้เรียนลงปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง (Active Learners) ไม่ใช่การเรียนแบบเป็นผู้รับ (Passive Learners) แต่ฝ่ายเดียว
3. มีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งนี้ การเรียนรู้อย่างยืดหยุ่นมีพื้นฐานมาจากการเรียนโดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
1) เข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ที่หลากหลาย
2) วางแผนการใช้แหล่งข้อมูลเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ
3) เลือกและวิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหาที่กำหนดให้และนำเสนอในรูปแบบของการรายงาน
4) พัฒนาทักษะการจัดการข้อมูล และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โมบาย เลิร์นนิ่ง M-learning
ในปัจจุบันการศึกษาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เป็นการศึกษาแบบ Global ไม่ใช่แบบ Local นั่นหมายความว่า เป็นการศึกษาไม่เฉพาะแต่ภายในส่วนเล็กๆ หรือ ประเทศของตนเองเท่านั้น แต่เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมในทุกประเทศทั่วโลก มีการแลกเปลี่ยนความรู้จากซีกโลกหนึ่งไปสู่อีกซีกโลกหนึ่งอย่างรวดเร็วและง่ายดาย ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ยิ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารเติบโตมากขึ้นเท่าไร วิธีการศึกษาก็สามารถพัฒนาได้รวดเร็วขึ้นเป็นเงาตามกัน หากพูดถึงการศึกษาหรือการเรียน ความคิดแวบแรกของเราก็คือ การเข้าไปนั่งเรียนในชั้นเรียน เจออาจารย์ผู้สอนหน้าต่อหน้า แต่เมื่อมีการสื่อสารทางไปรษณีย์ การศึกษาแบบใหม่ก็เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่อยู่ไกลสถานที่เรียน หรือไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนได้ เราเรียกการศึกษาแบบนี้ว่า การศึกษาแบบเรียนทางไกลหรือเรียนทางไปรษณีย์ (Distance Learning หรือ d-Learning) ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าการส่งไปรษณีย์ นั่นก็คือ อินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงเกิด e-Learning หรือ Electronic Learning ขึ้น เป็นการเรียนผ่านทาง อินเทอร์เน็ต และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ , PDA และ Laptop computer ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาแบบ e-Learning จึงกลายมาเป็น m-Learning หรือ mobile learning นั่นเอง
ในช่วงปี ค.ศ. 1995 – 2000 การศึกษาแบบ e-Learning โด่งดังเป็นอย่างมากไม่ว่าจะทั้งในประเทศไทยเราเอง และต่างประเทศ แทบทุกคนก็คิดว่า e-Learning คงเป็นเทคโนโลยีสุดท้ายที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการศึกษาทางไกล แต่ความไม่แน่นอนก็เกิดขึ้น เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) ได้เข้ามามีบทบาทและเติบโตอย่างมากในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา อุปกรณ์แบบไร้สายต่างๆ ได้เข้ามาแทนที่อุปกรณ์แบบมีสาย (wired) ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือ เมื่อมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีแบบไร้สาย เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ก็ถูกพัฒนาตามขึ้นไปด้วย ซึ่งได้แก่ Bluetooth, WAP (Wireless Application Protocol), GRPS (General Packet Radio System) และ UMTS (Universal Mobile Telecommunications System) เมื่อเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไป วิธีการศึกษาหาความรู้ก็ถูกพัฒนาตามไปด้วย m-Learning จึงเกิดขึ้น m-Learning ย่อมาจาก mobile learning ซึ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning เป็นการผสมผสานที่ลงตัวของการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เทคโนโลยีที่กล่าวถึงนี้ก็คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย เราเรียกการเรียนแบบนี้ว่า Wireless Learning , Mobile Learning หรือ m-Learning
ดังนั้น m-learning คือ การศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA และ laptop computer
ในปัจจุบันวิธีการศึกษาแบบ m-Learning นั้นยังไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก คงเห็นเพียงแต่การวิจัยของสถาบันการศึกษา และบริษัทที่ให้บริการด้านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ERICSSON และ NKI Distance Education หรือ NKI อินเทอร์เน็ต College ประเทศนอร์เวย์ เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนแบบทางไกลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมมือกันเพื่อทำการศึกษาและวิจัยเรื่อง m-learning ว่ารูปแบบวิธีการเรียนจะเป็นอย่างไรโดยผ่านอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ
นอกจากนี้บริษัท ERICSSON ได้มีการวิจัยและรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เรื่อง d-learning , e-learning จนกระทั่ง m-learning ในขั้นต้นบริษัท ERICSSON ได้ลองทดสอบการเรียนรู้แบบ m-learning กับโทรศัพท์มือถือรุ่น R320, R380 และ R520 โดยเครื่องรุ่น R380 หน้าจอเป็นแบบแนวนอน
นอกนั้นเป็นแนวตั้ง และจากการศึกษาก็พบว่าโทรศัพท์รุ่น R380 สามารถแสดงผลได้ดีกว่าอีกสองรุ่น เพราะหน้าจอที่เป็นแนวนอนจะสามารถแสดงผลข้อมูลตัวอักษรและข้อมูลรูปภาพได้ดีและมากกว่าหน้าจอที่เป็นแนวตั้ง
ข้อด้อยของการเรียนรู้แบบ m-learning อุปกรณ์ไร้สายส่วนมากมีหน้าจอเล็ก , การประมวลผลช้า ,หน่วยความจำที่จำกัดและน้อยกว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากหากเทียบกับการเรียนรู้ทางไกลแบบอื่นๆ (d-learning และ e-learning) ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้การพัฒนาวิธีการเรียนรู้โดยผ่านโทรศัพท์มือถือ และ PDA นั้นอาจเติบโตได้ช้า แต่หากเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริงๆ การเรียนแบบนี้ ก็จะเอื้อประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการเรียนและสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเข้าสังคม เรียกได้ว่าเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้น เราคงต้องฝากความหวังไว้ให้กับผู้พัฒนาทั้งหลาย ที่จะผลิตอุปกรณ์ไร้สายที่เหมาะสำหรับการเรียน และวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพ และคาดว่าอีกไม่นานเกินรอ คนไทยจะได้สัมผัสการเรียนรู้แบบ m-learning อย่างแน่นอน
การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)
การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย
Global Learning
ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ Welcome to Global Learning ด้วยการผสมผสานอย่างลงตัวของเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และเนื้อหาบทเรียน การเรียนรู้เรื่องต่างๆจึงกลายเป็นเรื่องสนุก และง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส
ระบบ Online Learning เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี Internet ซึ่งจะนำเสนอบทเรียน ในรูปแบบของการผสมผสานระหว่างวิดีโอ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และตัวอักษร ทำให้บทเรียน มีความน่าสนใจ และง่าย ต่อการทำความเข้าใจเนื่องจากผู้เรียน Online Learning สามารถเรียนรู้ทุกเรื่องราวได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้ Online Learning เป็นสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สมบูรณ์แบบที่สอดคล้องกับ ความต้องการและวิถีชีวิต ของบุคลากรในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ต้องการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพ
การเรียนโดยที่มีที่ปรึกษา(Mentored learning)
เป็นกระบวนการที่ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้กับผู้อื่น การฝึกอบรมจะเกิดขึ้นในสถานที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ หรือเกิดขึ้นใกล้ ๆ กับสถานที่ปฏิบัติงานมากที่สุดโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้และการปฏิบัติในเวลาเดียวกันเป็นวิธีการเบื้องต้นที่องค์กรนำมาใช้สำหรับพัฒนา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น